วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

หน่วยลูกโป่ง





ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2

หน่วยลูกโป่ง

ครั้งที่1ครั้งที่2

ลูกโป่ง

หน่วยลูกโป่ง1.การนับ -ให้เด็กนับลูกโป่งในตะกร้า-ให้เด็กนับลูกโป่งที่มีลักษณะกลม และมีสีแดง2.ตัวเลข - ให้เด็กนำตัวเลขมาวางให้ตรงกับจำนวนลูกโป่ง3.การจับคู่ - ให้เด็กจับคู่ลูกโป่งที่มีขนาด เท่ากัน- ให้เด็กจับคู่ลูกโป่งที่มีสีเดียวกัน- ให้เด็กจับคู่ลูกโป่งที่มีรูปทรงเดียวกัน4.การจัดประเภท - ให้เด็กแยกลูกโป่งที่มีสีเหมือนกัน- ให้เด็กแยกขนาดของลูกโป่ง เล็ก- ใหญ่- ให้เด็กแยกลูกโป่งที่มีรูปทรงต่างกัน5.การเปรียบเทียบ - ให้เด็กเปรียบเทียบขนาดของลูกโป่ง - ให้เด็กเปรียบเทียบลูกโป่งที่มีน้ำหนักไม่เท่ากัน ( โดยใส่น้ำไม่เท่ากัน) 6.การจัดลำดับ - ให้เด็กเรียงลำดับขนาดลูกโป่งที่มีขนาดเล็กสุดไปหาลูกโป่งที่มีขนาดใหญ่สุด- ให้เด็กเรียงลำดับลูกโป่งที่มีขนาดใหญ่สุดไปหาลูกโป่งที่มีขนาดเล็กสุด- ให้เด็กเรียงลำดับลูกโป่งที่น้ำหนักมากสุดไปหาลูกโป่งที่มีน้ำหนักน้อยสุด7.รูปทรงและเนื้อที่ - ให้เด็กแยกลูกโป่งที่ลักษณะกลม - ยาว8.การวัด - ให้เด็กวัดเส้นรอบลูกโป่ง ว่าแต่ละลูกมีขนาดเท่าใด- ให้เด็กเปรียบเทียบลูกโป่งลูกไหนหนัก ลูกไหนเบากว่ากัน9.เซต - ครูบอกเด็กว่าลูกโป่งที่มีน้ำหนักได้นั้น เพราะใส่น้ำและแป้งเข้าไปแล้วให้เด็กแยกลูกโงที่ใส่น้ำและใส่แป้งออกจากกัน10.เศษส่วน- เลือกเด็กมา 3 คน ให้ลูกโป่ง 9 ลูก โดยให้เด็กแบ่งให้เท่าๆ กัน 11.การทำตามแบบ หรือลวดลาย- ให้เด็กเป่าลมใส่ลูกโป่งให้มีขนาดเท่ากับที่ครูเลือกมา12.การอนุรักษ์ - ถามเด็กว่าลูกโป่งที่เป่าแล้วกับลูกที่ยังไม่เป่า(โดยนำลูกโป่งที่มีรูปทรงเดียวกัน) มีความจุน้ำได้เท่ากันหรือเปล่า
เขียนโดย golchafy ที่ 12:56 ก่อนเที่ยง 0 ความคิดเห็น

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สรุปที่เรียน 5 มกราคม 2552

1. การเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
2.การวางแผลการสอน เช่น
สาระที่จะสอน
-เช่นลักษณะของฝรั่ง
-ส่วนประกอบของฝรั่ง
-ประโยชน์ของฝรั่ง
-สถานที่พบ เช่นพาเด็กไปทัศนศึกษานอกสถานที่
เทคนิกการนำเข้าสู่บทเรียน
-เช่น การเล่านิทาน การร้องเพลง

สังเกตการ

วันที่ 18สัปดาห์ที่ 5

หลักการสอนคณิตศาสตร์
ครูปฐมวัยที่ดีนอกจากจะข้าใจพัฒนาการเด็กธรรมชาติของการเรียนรู้ของเด็กและขอบข่ายของหลักสูตรอย่างลึกซึ่งแล้วยังจะต้องเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างดีด้วย เช่น
1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
2. เปิดโอกาสให้เด็กใด้รับประสบการณ์ที่ทำให้ "พบคำตอบด้วยตนเอง"
3. มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี
4. เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของการพัฒนาความดิดรวบยอดของเด็ก
5. ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติกรรมเพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม
6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก
7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริงเพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยากๆ
9. ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติการจริงเกี่ยวกับตัวเลข
10. วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและบ้านอย่างต่อเนื่อง
11. บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอเพื่อแก้ใขปรับปรุง
12. คาบ หนึ่งควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดี่ยว
13. เน้นกระบวนการการเล่นจากง่ายไปยาก
14. ครูควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลขหรือเครื่องหมายเมื่อเด็กเข้าใจสิ่งเหล่านั้นแล้ว
การเตรียมพร้อมเด็กให้เก่งคณิตศาสตร์นั้นจะต้องฝึกให้เด็กได้พัฒนาทางด้านสายตาก่อนเป็นอันดับแรกถ้าหากเด็กไม่สามารถใช้สายตาในการจำแนกจัดแบ่งประเภทแล้ว เด็กก็จะมีปัญหาด้านการเรียนรู้กับคณิตศาสตร์ได้

วันที่ 28 สัปดาห์ที่ 4

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยศึกษา
คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
ตัวเลข,ขนาด,รูปร่าง(อ้วน,ผอม,กลม),ที่ตั้ง,(นู้น,นี้,นั้น,ก่อน,หลัง),ค่าของเงิน,ความเร็ว,อุณหภูมิ,
มาตรฐานการวัดในระบบเมตริก
คำศัพท์ ที่เด็กควรทราบ
ระบบเมตริก ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
การวัดเรื่องเวลา
ลักษณะหลักสูตรที่ดี
มีความสมดุลในเรื่องต่อไปนี้
-เน้นกระบวนการคิดและการพัฒนาความคิดรวบยอด
-เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวิตประจำวันในใช่การท่องจำ
-แนะนำคำศัพท์ที่ใหม่ๆและสัญลักษณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป
-สร้างเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ
-สร้างเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม
-เน้นให้เด็กเกิดความรวบยอดมีทักษะคณิตศาสตร์ไปพร้อมกัน
-เปิดให้เด็กได้ค้นคว้าสำรวจ-ปฏิบัติ รู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง

วันที่ 20 สัปดาห์ที่ 3

วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
เพียเจต์ พัฒนาการของเด็ก
- พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆ เป็นลำดับขั้นดังนี้
1. ขั้นรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส
2. ขั้นตอนปฎิบัติการคิด
- ขั้นก่อนเกิดความคิดรวบยอด
- ข้ันก่อนคิดด้วยความเข้าใจของตนเอง
(การเคลื่อนไหวจังหวะมีทั้งช้าและเร็วเช่น 1 2 3 เป็นจังหวะช้าและ 1 3 เป็นจังหวะเร็ว)
หลักสูตรคณิตศาสตร์ 1. การนับ 2. ตัวเลข 3. การจับคู่ 4. การจับประเภท 5. การเปรียบเทียบ 6. การจัดลำดับ 7. รูปทรง 8. การวัด 9. เซต 10. เศษส่วน 11. การทำตามแบบหรือลวดลาย 12. การอนุรักษ์
หลักการสอนคณิตศาสตร์ คือสอนให้สอคคล้องกับชีวิตประจำวัน
จัดทำโดย สวานี อูแม

วันที่ 13 สัปดาห์ที่ 2

วันนี้เรียนวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาตร์วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับการทำBlogger และคนที่ยังไม่ทำอะไรเลยอาจารย์ให้เริ่มทำได้แล้วเพราะอาจารย์จะได้รู้ว่าการทำของนักศึกษาถึงไหนแล้วและอาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย คือ คณิตศาสตร์เป็นสิ่งท่ีจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เพื่อใช้ในการแก่ปัญหา ในการสือสารของเด็กปฐมวัย
และอาจารย์ให้เพิ่มเติมหัวข้อบทความ นิทาน เกม เพลง วิจัย เเละสอนร้องเพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์โดยนักศึกษาร้องเพลงตาม

เพลง

มือแสนงาม
มือของฉันแสนงาม เมือยามมองมา
สวยงามเรียวตา เมือคราคนมอง
*มือมีสิบนิ้ว มือมีสิบนิ้ว
มือมีสิบนิ้ว มาลองนับกันดู
หนึ่ง สอง สาม สี่่ ห้า หก เจ็ด แปด
เก้า สิบ สิบนิ้วพอดี

เด็กๆร้องเพลง

เด็กๆร้องเพลง
พวกเขานั่งอยู่มุมใดของบ้านฉันไม่รู้หรอก
อาจเป็นหลังบ้านหรือในครัว
หรือสนามหญ้า
แต่เมื่อคืนนี้ใครจะยังสามารถร้องเพลงได้
นอกจากพวกเด็กผู้ไม่เคยรู้จักความเศร้า
ไม่รู้จักคำว่าสูญเสีย
นอกจากคำว่า น้อยใจและผิดหวัง
เพลงที่พวกเขาร้องเป็นเสียงอะไรก็ย่อมได้
ตามแต่ฉันจะคิดนึกตามไป
เป็นเสียงหัวเราะก็ได้
เป็นแผ่นไม้ที่ราบรื่นก็ยังไหว
หรืออาจเป็นเสียงร้องไห้
พวกเขามีเสียงหัวเราะ
เสียงนั้นเป็นฉันเช่นกัน
เพราะฉันเคยหัวเราะและมีรอยยิ้ม
เด็ก ๆ หยุดร้องไห้
แต่ร้องเพลง
เด็ก ๆ หยุดเล่น
แต่เต้นรำ
เด็ก ๆ กลับบ้านซึ่งฉันไม่รู้หรอกว่าเป็นมุมใด
อาจเป็นห้องนอน
ห้องน้ำ หรือห้องครัว
เด็ก ๆ ก็ร้องเพลงได้ทุกวัน
แม้แต่ในความฝัน
เสียงเพลงก็ยังคงพลิ้วแผ่ว
กระทบแสงเทียนให้ห้องของฉัน
วูบดับจนฉันต้องปิดสมุดบันทึก
และหลับลงเมื่อระลึกถึงเสียงของวัยเด็ก
ที่เคยร้องเพลงได้ดีเท่า ๆ กับเด็กพวกนี้
*เขียนโดย สวานี อูเเม เวลา0.04 น.

วิธีค้นหาความเป็นอัฉริยะทางคณิตศาสตร์

วิธีค้นหาความเป็นอัฉริยะทางคณิตศาสตร์
วิธีค้นหาความเป็นอัจฉริยะ"
การจะค้นหาความเป็นอัจฉริยะของตนเองพบหรือไม่นั้น ต้องเริ่มที่การรู้จักตนเองก่อนเป็นอันดับแรก เพราะเมื่อรู้จักตน ความต้องการและเป้าหมายข้างหน้าของตนแล้ว การจะมุ่งหน้าไปสู่จุดหมายย่อมไม่ใช่เรื่องยาก
ข้อ 1.เขียนวงกลมวางเหลื่อมกัน 3 วงกลม
วงกลมที่ 1 เขียนสิ่งที่เราเก่ง หรือทำได้ดี แม้จะไม่ใช่สิ่งที่เราชอบมากก็ได้
วงกลมที่ 2 เขียนสิ่งที่เราชอบและอยากทำ
วงกลมที่ 3 เขียนสิ่งที่โลกต้องการจากเราโดยให้ใกล้เคียงกับความสามารถของเราที่สุด
เมื่อเขียนข้อมูลครบทั้งสามวงกลมแล้ว ให้ดูข้อมูลทั้งสามวงกลมมีความซ้อนทับกัน เมื่อวิเคราะห์แล้ว จะทำให้รู้ว่าเราอยากมีอนาคตเป็นเช่นไร

ข้อ 2.เขียนวงกลม 3 วงซ้อนกัน จากเล็กไปใหญ่ เขียนข้อความลงในวงกลมถึงสิ่งที่อยากทำ เช่น ถ้าอยู่ในระหว่างเลือกสาขาเรียน
วงกลมที่ 1 เขียนสิ่งที่อยากเรียน
วงกลมที่ 2 เขียนสิ่งที่อยากเรียนมาก
วงกลมที่ 3 เขียนสิ่งที่อยากเรียนมากที่สุด
จากนั้นให้วิเคราะห์จากวงกลมทั้งสามว่า สิ่งใดที่ไม่ได้เรียนแล้วจะเสียใจมากที่สุด ก็จะทราบความต้องการของตนเองแต่อย่าลืมว่าข้อความในวงกลมทั้งสามสามารถเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆ จนตลอดชีวิต และเราต้องไม่จำกัดตัวเองอยู่ในความสามารถปัจจุบันเท่านั้น เพราะในความเป็นจริงแล้วชีวิตมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงเสมออย่างเลี่ยงไม่ได้ "รู้จักความเครียด"
ภาวะเครียดแบ่งได้เป็น 3 ระดับ
1.ไม่มีความเครียดเลย เป็นสภาวะที่ไม่น่าอยู่ เป็นจุดที่จะไม่มีการพัฒนาตนเอง เพราะไม่มีภาวะบีบบังคับหรือแรงกดดันใดๆ ทั้งสิ้น เป็นสภาวะหยุดนิ่ง
2.เครียดปานกลาง เป็นสภาวะที่ทำให้เรามีความพร้อมที่จะเรียนรู้ เป็นภาวะที่จะทำให้งานประสบผลสำเร็จ เพราะความกดดันตรงนี้จะบังคับให้เราทำงานได้เป็นอย่างดี
3.เครียดมาก เป็นความเครียดที่ทำให้เกิดความกลัว เพราะทักษะความสามารถของเราไม่เก่งพอ เราจึงกลัวว่าจะล้มเหลว กลัวอับอาย ทำให้ขาดความสุขในการทำงาน และงานที่ได้ออกมาจะไม่ดีเท่าที่ควร
ดังนั้น คนในปัจจุบันจะต้องดูว่าเรามีความเครียดระดับไหน และต้องจัดการให้ได้ เพื่อจะได้มีสมองที่ดี และสมบูรณ์ในการค้นหาความเป็นอัจฉริยภาพในตัวเองให้เจอในเวลารวดเร็วที่สุด